ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ขัช, ขัชกะ '

    ขัช, ขัชกะ   หมายถึง [ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร.(ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ขัช, ขัชกะ

    [ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร.(ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).

  • ขัณฑ-

    [ขันทะ-] น. ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น. (ป., ส. ขณฺฑ).

  • ขัณฑสกร

    [ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบลซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ?ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน).(ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

  • ขัณฑสีมา

    น. เขตแดน, เขตแดนส่วนหนึ่ง ๆ. (ป., ส.).

  • ขัด ๑

    ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บเช่น ขัดกระบี่; ไม่ทําตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคําสั่ง; แย้งกัน,ไม่ลงรอยกัน.

  • ขัดขวาง

    ก. ทําให้ไม่สะดวก, ทําให้ติดขัด.

  • ขัดข้อง

    ก. ไม่ยอมให้ทํา, ไม่ตกลงด้วย, ติดขัด.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒